วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

รายวิชาการเพาะเห็ด

ใบความรู้ที่  1
เรื่อง  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเห็ด
 ความหมาย  ความสำคัญ  ประโยชน์ของเห็ด
ความหมายของเห็ด
          เห็ดเป็นราชนิดหนึ่งซึ่งไม่จัดเป็นพืชหรือสัตว์  ไม่มีสารสีเขียว(chlorophyll) เหมือนพืช  จึงไม่สามารถปรุงอาหารกินเองได้  ไม่มีระบบประสาทหรืออวัยวะและไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เช่นสัตว์  การเจริญเติบโตของเห็ดมีลักษณะเป็นเส้นใยรวมกัน
ความสำคัญและประโยชน์ของเห็ด
         เห็ดนำมาประกอบอาหารจะมีกลิ่นหอมรสชาติดี คนไทยนิยมบริโภคกันมากมาแต่บรรพบุรุษ  สาเหตุเพราะเห็ดมีสารอาหารโปรตีนสูง 2-4 %  มีมากกับที่พบในพืชจำพวกถั่วเมล็ดแห้ง  มีน้ำ 80-90 %  มีกากอาหาร 1 %  และมีสารอาหารพวกแร่ธาตุที่ จำเป็นต่อร่างกาย  เช่น  ธาตุเหล็ก , ฟอสฟอรัส , แคลเซียม  โดยเฉพาะมีเกลือแร่สูงกว่าผักถึง 2 เท่า ถือว่าเห็ดมีคุณค่าทางอาหารทดแทนเนื้อสัตว์  แต่ไม่มีสารโคเลสเตอรอลที่เป็นอันตรายต่อระบบไหลเวียนของโลหิต  เห็ดจึงเหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ  โรคไต  โรคหัวใจ  และความดันโลหิตสูง  ในทางการแพทย์ยังเชื่อว่า เห็ดหอมช่วยต้านโรคมะเร็ง  และเห็ด หลินจือรับประทานแล้วจะเป็นยาบำรุงกำลังช่วยให้สุขภาพแข็งแรง
ความรู้เกี่ยวกับเห็ด
          เห็ด(Mushroom) เป็นราชนิดหนึ่งซึ่งไม่จัดเป็นพืชหรือสัตว์ไม่มีคลอโรฟิลล์(Chlorophyll) หรือสารสีเขียว ทำให้เห็ดไม่สามารถสร้างอาหารเองได้โดยวิธีสังเคราะห์แสงต้องอาศัยสารอินทรีย์จากสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต เพื่อใช้ในการเจริญเติบโต
ความสำคัญของเห็ด
           มนุษย์ทั่วโลกรู้จักเห็ดมานานที่สายพันธุ์ของเห็ด มากกว่า 30,000 สายพันธุ์ แต่มีถึงร้อยละ 99 สายพันธุ์ที่บริโภคได้ที่เหลือร้อยละ 1 เป็นเห็ดพิษหรือเห็ดเมาในอดีตเห็ดที่นำบริโภคนั้นมีเพียงไม่กี่ชนิด เช่น เห็ดฝรั่ง เห็ดหอม เห็ดโคน และเห็ดฟาง
           ในปัจจุบันพบว่าหลายๆประเทศหันมาให้ความสนใจและร่วมมือกันในการวิจัยและค้นคว้า ทดลอง คัดเลือก และปรับปรุงพันธุ์เห็ด  ให้มีจำนวนมากขึ้น และพัฒนาเทคนิควิธีการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค
           ประเทศไทยเป็นประเทศที่เหมาะต่อการเพาะเห็ดอย่างมาก เพราะมีวัสดุเหลือใช้จากพืชเศรษฐกิจสามารถนำมาดัดแปลงเพาะเห็ดได้เป็นอย่างดีประกอบกับมีสภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ดเกือบทุกชนิด ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาเพาะเห็ดกันอย่างจริงจังแล้ว จะช่วยเพิ่มอาหารที่มีคุณค่าและทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
ประโยชน์ของเห็ด
           1. คุณค่าทางอาหารของเห็ด  จากการค้นคว้าเกี่ยวกับคุณค่าทางอาหารของเห็ด โดยกรมวิทยาศาสตร์พบว่า เห็ดที่มีจำหน่ายในท้องตลาด เช่น เห็ดฟาง เห็ดหูหนู เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ และเห็ดนางฟ้า เมื่อนำมาวิเคราะห์พบว่าประกอบด้วยสารอาหาร พวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน แร่ธาตุต่างๆ และวิตามิน ที่แตกต่างกัน จากชนิดสารอาหารที่ พบในเห็ดดังกล่าว ย่อมพิสูจน์ได้ว่าเห็ดเป็นอาหารที่มีคุณค่าเทียบเท่าเนื้อสัตว์จริง
           2. สรรพคุณทางยา ของเห็ด ในการบริโภคอาหารควรเลือกบริโภคพืชผักที่มีคุณค่าทางอาหารทดแทนเนื้อสัตว์บ้าง โดยเฉพาะพืชที่ประเภทเห็ดจะไม่มีสารคอเรสตอรอลที่เป็นอันตรายต่อระบบไหลเวียนโลหิตประกอบกับเห็ดมีปริมาณธาตุโซเดียมค่อนข้างต่ำ จึงจัดเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับ    ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ โรคไตโรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง
ส่วนประกอบต่างๆของดอกเห็ด
            เริ่มจากสปอร์ของดอกปลิวไปตกบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสปอร์ก็จะเจริญเติบโตกลายเป็นเส้นใย  เมื่อเส้นใยอัดตัวกันเข้ากลายเป็นดอกเห็ด  ซึ่งประกอบ  ไปด้วย
            1.  หมวกเห็ด  ส่วนปลายสุดของดอกเจริญขึ้นไปในอากาศ
            2.  ครีบ  อยู่ด้านล่างของหมวกเห็ด
            3.  ก้านดอก  มีขนาดใหญ่และยาวแตกต่างกัน
            4.  วงแหวน  เป็นเยื่อบางๆยึดก้านดอกและขอบหมวกของเห็ด
            5.  เปลือกหุ้มโคน  อาจมีเนื้อหนาหรือบางอยู่ชั้นนอกสุดที่หุ้มดอกเห็ดไว้
            6.  สปอร์  เกิดจากการผสมพันธุ์ทางเพศ  แล้วแบ่งตัวกลายเป็นสปอร์ปลิวหรือลอยไปในอากาศ
ส่วนต่าง ๆ  ของดอกเห็ด
การจำแนกประเภทของเห็ด
             เห็ดสามารถจำแนกได้เป็น  3  กลุ่ม  ได้แก่
             1.  กลุ่มเห็ดที่ใช้เป็นอาหาร  เป็นเห็ดที่มีคุณค่า  และมีส่วนประกอบของ      สารอาหารหลายชนิด  เช่น  โปรตีนและวิตามิน  ได้แก่  เห็ดฟาง , เห็ดนางฟ้า , เห็ดหูหนู  เป็นต้น
            2.  กลุ่มเห็ดที่ใช้เป็นยาสมุนไพร  เพราะเชื่อว่ามีสารที่เป็นสรรพคุณทางยา     ได้แก่ 
เห็ดหลินจือ (เห็ดพันปี)รับประทานแล้วจะเป็นยาบำรุงกำลังทำให้สุขภาพแข็งแรง
เห็ดหอม  รับประทานแล้วจะช่วยบำบัดโรคบางชนิดได้  เช่น  ต้านโรคมะเร็ง , ต้านไวรัส  ช่วยลดความดันโลหิตและลดโคเรสเตอรอล  เป็นต้น
            3.  กลุ่มเห็ดที่เป็นพิษ  เห็ดกลุ่มนี้ถ้าบริโภคเข้าไปจะมีพิษ  ถ้าบริโภคมากอาจถึงตาย  เพราะพิษจะเข้าไปในระบบเลือด  กระจายไปทั่วร่างกายมึนเมาอาเจียน  เช่น    เห็ดระโงกหิน
การจำแนกประเภทของเห็ด
            การจำแนกประเภทของเห็ด สามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 
            1.   กลุ่มที่ใช้เป็นอาหาร เห็ดมีคุณค่าทางอาหารหลายชนิดโดยเฉพาะโปรตีนและวิตามิน ได้แก่ เห็ดฟาง  เห็ดนางรม  เห็ดนางฟ้า  เห็ดเป๋าฮื้อ  เห็ดหูหนู
            2.   กลุ่มที่ใช้เป็นยาสมุนไพร นอกจากเป็นอาหารแล้วยังมีคุณค่าทางสรรพคุณยา  ได้แก่ เห็ดหลินจือ  เห็ดหอม
            3.   กลุ่มเห็ดที่มีพิษ เห็ดในกลุ่มนี้หลายชนิดมีพิษรุนแรงหากบริโภคเข้าไปอาจจะทำให้เสียชีวิต ได้แก่ เห็ดระโงกหิน(กลาง)   เห็ดระงาก  (อีสาน)  เห็ดเหล่านี้แม้จะต้มให้สุกเป็นเวลานานก็ยังคงมีพิษคงเดิม

วันพุธที่ 17 มิถุนายน 2009 เวลา 14:06 น.
pum.12
Section: Medical Upgrade -
ประโยชน์ทางยาของ ‘‘เห็ด 8 ชนิด’’
1.       เห็ดหอม หรือ เห็ดชิตาเกะ เป็นยาอายุวัฒนะ เพราะช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
อีกทั้งยังเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสและมะเร็งด้วย และมีกรดอะมิโนถึง 21 ชนิด มีวิตามิน บี 1 บี 2สูงพอๆ กับยีสต์ มีวิตามินดีสูง ช่วยบำรุงกระดูกและมีปริมาณโซเดียมต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก ซึ่งช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทาอาการไข้หวัดชาวจีนยกให้เห็ดหอมเป็นอาหารต้นตำรับ อมตะ
2.       เห็ดหูหนู  เป็นกลุ่มของคาร์โบไฮเดรต สามารถเพิ่มความแข็งแรงให้เม็ดเลือดขาวในผู้สูงอายุ ทำให้ภูมิ
ต้านทานร่าง กายดี ขึ้น รว มทั้งช่วยรักษาโรคกระเพาะและริดสีดวง เห็ดหูหนูขาวช่วยบำรุงปอดและไต
3.       เห็ดหลินจือ มีสารสำคัญ เช่น เบต้ากลูแคนซึ่งมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง คนญี่ปุ่นมักใช้ควบคู่กับการรักษา
โรคมะเร็งและโรคผู้สูงอายุเช่น โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคความดันโลหิตสูง
4.       เห็ดกระดุม หรือ เห็ดแชมปิญองรูปร่างกลมมน คล้ายกระดุมที่มีขนาดใหญ่ ผิวเนื้อนวล มี ให้เลือกทั้งแบบ
สด หรือบรรจุกระป๋อง มีบทบาทในการรักษาและป้อง กันการเกิดมะเร็งเต้านมมากที่ สุดโดยสารบางอย่างในเห็ด นี้จะไปช่วยยับยั้งเอนไซม์อะโรมาเตส ทำให้เกิดการยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมนเอนโดรเจนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน  เมื่อร่างกาย ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลง ก็ลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมให้น้อยลงตามไปด้วย
5.       เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้าและเห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดสามอย่างนี้อยู่ในตระกูลเดียวกัน เจ ริญเติบโตเป็นช่อ ๆคล้าย
พัด เห็ดนางรมมีสีขาวอมเทา เห็ดนางฟ้ามีสีขาวอมน้ำตาล ขณะที่เห็ดเป๋าฮื้อจะมีสีคล้ำ และเนื้อเหนียวหนานุ่ม อร่อยคล้ายเนื้อสัตว์มากกว่า เชื่อว่าสามารถป้องกันโรคหวัดช่วยการไหลเวียนของเลือด และโรคกระเพาะ
6.       เห็ดฟาง เป็นเห็ดยอดนิยมของคนไทย นิยมเพาะกันบนกองฟางข้าว ชื้น ๆ โคน มี สีขาว ส่วนหมวกมีสี
น้ำตาลอมเทา หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด ให้ วิตามินซีสูง และ มีกรดอะ มิโนสำคัญอยู่หลายชนิดหากรับประทาน เป็นประจำจะช่วยเสริม ภูมิคุ้มกันการ ติดเชื้อต่างๆ อีก ทั้งยังช่วยลดความดันโลหิตและเร่งการสมานแผล
7.       เห็ดเข็มทอง เป็นเห็ดสีขาวหัวเล็ก ๆ ขึ้นติดกัน เป็นแพ รส ชาติเหนียวนุ่ม นำมารับประทานแบบสดๆ ใ ส่
กับสลัด ผักก็ ได้ ถ้าชอบสุกก็ นำ ไปย่าง ผัดหรือลวกแบบ สุกี้ ถ้ากินเป็นประจำ จะช่วยรักษาโรคตับโรคกระเพาะ และลำไส้อักเสบเรื้อรัง
8.       เห็ดโคน ช่วยเจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้บิดแก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ไอ ละลายเสมหะ การทดลองทางเภสัช
ศาสตร์พบว่า น้ำที่สกัดจากเห็ดโคนสามารถยับยั้งเชื้อโรคบางชนิด เช่น เชื้อไทฟอยด์
เห็ดที่นักวิทยาศาสตร์นิยมเอามาวิเคราะห์ว่ามีสรรพคุณทางยานั้นส่วนใหญ่เป็นเห็ด ชนิดที่คนมักนำมาปรุงอาหารและหาได้ง่าย เช่น เห็ดเข็มทอง เห็ดหอม เห็ดกระดุมหรือเห็ดแชมปิญอง เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้าเห็ดฟาง เห็ดโคน เห็ดหูหนู และ เห็ดหลินจือ อีกทั้งผลการศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบว่าเห็ดแชมปิญอง มีบทบาทช่วยในการรักษาและป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมมากที่สุด เมื่อเทียบกับเห็ดรับประทานได้ชนิดอื่นๆโดยสารบางอย่างในเห็ดชนิดนี้ไปช่วย ยับยั้งเอ็นไซม์ aromatase ทำให้เกิดการยับยั้งการแปรฮอร์โมนแอนโดรเจนให้กลายเป็นเอสโตรเจนในผู้หญิง วัยหมด ประจำเดือน เมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลง ก็ลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมให้น้อยลงตามไปด้วย และในประเทศญี่ปุ่นได้มีการทดลองนำเห็ดหอมมาสกัด พบว่าในเห็ดหอม ให้น้ำตาลโมเลกุลขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า เบต้ากลูแคน ถึง 2 ชนิดได้แก่ lentinan และ LEM (Lenti nula edodes mycelium) ซึ่งช่วยทำหน้าที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันต่อสู้กับการติดเชื้อ และชะลอการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ซึ่งในการทดลองให้สาร lentinan กับผู้ป่วยมะเร็งร่วมกับการทำเคมีบำบัดก็พบว่าก้อนมะเร็งมีขนาดลดลง และอาการข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัดก็เกิดขึ้นน้อยลงด้วย เห็นความอัศจรรย์ของพืชตระกูลต่ำหรือยังคะ ไม่ได้ด้อยประโยชน์เหมือนทีโดนกล่าวหาเลย
1.       เห็ดหอม    2. เห็ดหูหนู      3. เห็ดหลินจือ    4. เห็ดกระดุม    5. เห็ดโคน
 .6. ห็ดนางรม    7. เห็ดนางฟ้า    8. เห็ดเป๋าฮื้อ     9. เห็ดฟาง       10 .เห็ดเข็มทอง
ข้อมูล : บางกอกทูเดย์

ประโยชน์ของเห็ด

ประโยชน์ทางการแพทย์ของเห็ดชนิดต่างๆ มีดังนี้ 

                                                                       

            1. เห็ดหอม หรือเห็ดชิตาเกะเป็นยาอายุวัฒนะ เพราะช่วยลดไขมันในเส้นเลือด อีกทั้งยังเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสและมะเร็งด้วย และมีกรดอะมิโนถึง 21 ชนิด มีวิตามิน บี 1 บี 2 สูง พอๆ กับยีสต์ มีวิตามินดีสูงช่วยบำรุงกระดูกและมีปริมาณโซเดียมต่ำ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก ซึ่งช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยบำรุงกำลัง บรรเทาอาการไข้หวัด ชาวจีนยกให้เห็ดหอมเป็นอาหารต้นตำรับ อมตะ
       
              2. เห็ดหูหนู เป็นกลุ่มคาร์โบไฮเดรต สามารถเพิ่มความแข็งแรงให้เม็ดเลือดขาวในผู้สูงอายุ ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายดีขึ้น รวมทั้งช่วยรักษาโรคกระเพาะและริดสีดวง เห็ดหูหนูขาว ช่วยบำรุงปอดและไต       
                                                                                   
                3. เห็ดหลินจือ มีสารสำคัญ เบต้ากลูแคน ซึ่งมีคุณสมบัติต้านมะเร็ง คนญี่ปุ่นมักใช้ควบคู่กับการรักษาโรคมะเร็งและโรคผู้สูงอายุ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และโรคความดันโลหิตสูง                                                                                                                                                                             4. เห็ดกระดุมหรือเห็ดแชมปิญอง รูปร่างกลมมน คล้ายกระดุมที่มีขนาดใหญ่ ผิวเนื้อนวล มีให้เลือกทั้งแบบสดหรือบรรจุกระป๋อง มีบทบาทในการรักษาและป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมมากที่สุด โดยสารบางอย่างในเห็ดนี้ไปช่วยยับยั้งเอนไซม์อะโรมาเตส (aromatase) ทำให้เกิดการยับยั้งการเปลี่ยนฮอร์โมนเอนโดรเจนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เมื่อร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลงก็ลดโอกาสการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านมให้น้อยลงตามไปด้วย 
                5. เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า และเห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดสามอย่างนี้อยู่ตระกูลเดียวกัน เจริญเติบโตเป็นช่อๆ คล้ายพัด เห็ดนางรมมีสีขาวอมเทา เห็ดนางฟ้ามีสีขาวอมน้ำตาล ขณะที่เห็ดเป๋าฮื้อจะมีสีคล้ำและเนื้อเหนียวหนาและนุ่มอร่อยคล้ายเนื้อสัตว์มากกว่า เชื่อว่าสามารถป้องกันโรคหวัด ช่วยการไหลเวียนเลือด และโรคกระเพาะ
               6. เห็ดฟาง เป็นเห็ดยอดนิยมของคนไทย นิยมเพาะกันบนกองฟางข้าวชื้นๆ โคนมีสีขาว ส่วนหมวกสีน้ำตาลอมเทา หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด ให้วิตามินซีสูง และมีกรดอะมิโนสำคัญอยู่หลายชนิด หากรับประทานเป็นประจำจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันการติดเชื้อต่างๆ อีกทั้งยังช่วยลดความดันโลหิตและเร่งการสมานแผล                           
 7. เห็ดหลินจือ นอกจากใช้รับประทานแล้ว ปัจจุบันยังมีการนำไปเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์อีกด้วย เพราะมีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้อร้าย รวมทั้งกระตุ้นภูมิคุ้มกันไวรัส             
             8. เห็ดเข็มทอง เป็นเห็ดสีขาว หัวเล็กๆ ขึ้นติดกันเป็นแพรสชาติเหนียวนุ่มนำมารับประทานแบบสดๆ ใส่กับสลัดผักก็ได้ ถ้าชอบสุกก็นำไปย่าง ผัดหรือลวกแบบสุกี้ ถ้ากินเป็นประจำจะช่วยรักษาโรคตับ กระเพาะ และลำไส้อักเสบเรื้อรัง                    
9. เห็ดโคน ช่วยเจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้บิด แก้คลื่นไส้ อาเจียน แก้ไอ ละลายเสมหะ การทดลองทางเภสัชศาสตร์พบว่าน้ำที่สกัดจากเห็ดโคนสามารถยับยั้งเชื้อโรคบางชนิด เช่น เชื้อไทฟอยด์    ท่านที่เข้าชมก็คงเคยรับประทานเห็ดกันอยู่บ่อยๆ นะครับ และคงจะรู้ซึ้งถึงรสชาติที่สุดแสนอร่อยของมัน เป็นอย่างดี วันนี้ท่านที่เข้าชมก็ได้รับทราบประโยชน์ของเห็ดมากมาย ซึ่งแต่ละชนิดก็มีประโยชน์แตกต่างกันไป หากชอบเห็ดชนิดใดเป็นพิเศษก็หาซื้อมารับประทานกันได้ตามใจชอบนะครับ เพราะไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ทั้งนั้น อย่าลืมหาซื้อมาประกอบอาหารกันนะครับ เด็กก็ทานได้ ผู้ใหญ่ก็ทานดี วันนี้คงพอแค่นี้ก่อน เอาไว้พบกันใหม่ครั้งหน้านะครับ สวัสดีครับ

         10.เห็ดนางรม(ฮังการี)     

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ดนางรม
1.แสงสว่าง มีผลต่อการพัฒนาและเจริญเติบโตของดอกเห็ดมากเพราะแสงจะช่วยกระตุ้นในการรวมตัวของเส้น ใยและการพัฒนาเป็นดอกเห็ดที่สมบูรณ์ ถ้าได้รับแสงน้อยจะทำให้หมวกดอกมีขนาดเล็กลงและก้านดอกยาวขึ้นและถ้าแสงน้อยมากๆจะทำให้ดอกเห็ดมีลักษณะผิดปกติไปดังนั้นในการเพาะเห็ดนางรมควรให้เห็ดได้รับแสงอย่างน้อย 15-20 นาทีต่อวัน
2. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามปกติจะมีผลในการเร่งการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดนางรมแต่ในระยะที่เห็ดพัฒนาเป็นดอกถ้ามีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงก็จะทำให้ดอกเห็ดผิดปกติได้ดังนั้นควรทำให้โรงเรือนมีอากาศถ่ายเทได้บ้าง
3. ความชื้นของอากาศมีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ดนางรมอย่างมากโดยเฉพาะ ระยะเปิดดอกเห็ดนางรมต้องการความชื้นค่อนข้างสูงประมาณ 70-80 %จึงควรรดน้ำ 2-3 ครั้งต่อวัน
4. อุณหภูมิ อุณหภูมิมีผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของเห็ดนางรมอย่างมากเห็ดนางรมจะให้ผลผลิตสูงในช่วงอุณหภูมิ 24-33 องศาเซลเซียสจากการศึกษาพบว่าถ้าก้อนเชื้อได้ผ่านอุณหภูมิต่ำประมาณ 20 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 18-21 วัน ก่อนนำมาเปิดดอกที่อุณหภูมิ 26-30 องศาเซลเซียสจะช่วยเพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี

การผลิตก้อนเชื้อเห็ดนางรม
              ในการเพาะเห็ดนางรมในถุงพลาสติกนั้น ผู้ผลิตสามารถนำเอาวัสดุเหลือ ใช้ในท้องถิ่นมาใช้ในการเพาะเห็ดได้ เช่น
ฟางข้าวสับ ซังข้าวโพด ขี้เลื่อยไม้ยางพารา เป็นต้น โดยทั่วไปนิยมใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราเป็นวัสดุเพาะ เพราะสามารถหาได้ง่าย
สะดวกในการบรรจุ และสามารถนำมาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการหมัก
สำหรับสูตรอาหารที่ใช้ในการเพาะเห็ดนางรมนั้นมีหลายสูตร คือ
สูตร 1 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม รำละเอียด 5 กิโลกรัม น้ำสะอาด 65-70 %
สูตร 2 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม รำละเอียด 3-5 กิโลกรัม แป้งข้าวเจ้าหรือน้ำตาลทราย 3-5 กิโลกรัม ดีเกลือ 0.5 กิโลกรัม น้ำสะอาด 65-70 %
สูตร 3 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 ส่วนโดยปริมาตร รำละเอียด 8 ส่วนโดยปริมาตร แป้งข้าวเจ้าหรือน้ำตาลทราย 2-3 ส่วนโดยปริมาตร กากถั่ว 2 ส่วนโดยปริมาตร หินปูน 2-3 ส่วนโดยปริมาตร น้ำสะอาด 70-75 %
หมายเหตุ ในการเลือกใช้สูตรต่างๆนั้นต้องคำนึงถึงต้นทุนในการผลิตด้วย การเพิ่มปริมาณของอาหารเสริมมากๆนั้น ถึงแม้จะเป็นการเพิ่มผลผลิตก็ตาม แต่โอกาสที่ก้อนเชื้อจะเสียหายหรือ ถูกทำลายจากจุลินทรีย์ชนิดอื่นก็มีมากเช่นกัน
ขั้นตอนการเตรียมก้อนเชื้อ
1. นำส่วนผสมต่างๆมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน                                                                                              2. เติมน้ำลงไปผสม ควรผสมให้ความชื้นกระจายให้ทั่วสม่ำเสมอ ทดสอบให้ได้ความชื้นประมาณ 65-75 % โดยใช้มือกำส่วนผสมขึ้นมาแล้วบีบดู ถ้ามีน้ำซึมออกมาแสดงว่าชื้นเกินไปให้เติมขี้เลื่อยลงไป
ถ้าไม่มีน้ำซึมออกมาให้แบมือออก ส่วนผสมจะจับกันเป็นก้อนและแตกออก 2-3 ส่วนแสดงว่าใช้ได้
3. บรรจุใส่ถุงพลาสติกทนร้อนที่ใช้เพาะเห็ด ถุงละประมาณ 8-10 ขีด อัดให้แน่นพอประมาณใส่คอขวดพลาสติก หุ้มด้วยสำลีและกระดาษ
4. นำไปนึ่งด้วยหม้อนึ่งลูกทุ่งที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส (น้ำเดือด)นาน 3-4 ชั่วโมง
5. หลังจากนึ่งทิ้งไว้ให้เย็นแล้วใส่เชื้อลงไป นำก้อนเชื้อไปบ่มในที่มืดและอุณหภูมิสูงประมาณ 28-35 องศาเซลเซียส เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของเส้นใย เส้นใยเห็ดจะเจริญเต็มถุงประมาณ 3-4 สัปดาห์
6. เมื่อเส้นใยเดินเต็มถุงแล้วให้พักก้อนเชื้อระยะหนึ่ง เพื่อให้เส้นใยสะสมอาหารและพร้อมจะ เจริญเป็นดอกเห็ดแล้วนำไปเปิดดอกในโรงเรือนต่อไป ดูรายละเอียด การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก
การเปิดถุงก้อนเชื้อเห็ดนางรม
     ทำได้ 4 วิธี คือ

     1. การเปิดปากถุงโดยการม้วนปากถุงลง โดยการดึงคอขวดออก พร้อมกับม้วนปากถุงลงไปจนถึงก้อนเชื้อ แล้วนำไปวางบนชั้นภายในโรงเรือน ข้อเสียของการเปิดถุงโดยวิธีนี้คือ โอกาสที่น้ำจะขังในถุงและทำให้ก้อนเชื้อเสียมีมาก
    2. การเปิดปากถุงโดยใช้มีดปาดปากถุงบริเวณคอขวดออก แล้วนำไปวางบนชั้นเพาะเห็ด วิธีนี้มีข้อเสียคล้ายกับวิธีแรก
    3. การกรีดปากถุงโดยใช้มีดคมๆ กรีดข้างถุงเป็น 4 แนว แล้วนำไปวางตั้งหรือแขวนในแนวตั้ง ข้อเสีย คือ เปลืองเนื้อที่ในการวางก้อนเชื้อ
    4. ดึงจุกสำลีออกแล้วนำก้อนเชื้อมาวางเรียงซ้อนกันภายในโรงเรือน ให้เห็ดเจริญออกมาทางปากถุงทางเดียว เป็นวิธีที่นิยมใช้กันมากเพราะประหยัดเนื้อที่ภายในโรงเรือนและน้ำไม่ขังในก้อนเชื้อ

เห็ดนางฟ้า(ภูฐาน)

       
             เห็ดนางฟ้ามีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับเห็ดนางรม เห็ดทั้งสองชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์ (family) เดียวกัน    ชื่อ เห็ดนางฟ้าเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในเมืองไทย คนไทยบางคนเรียกว่าเห็ดแขก เนื่องจากมีผู้พบเห็นเห็ดนี้ครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย พบขึ้นตามธรรมชาติบนตอไม้เนื้ออ่อนที่กำลังผุ ในแถบเมืองแจมมู (Jammu) บริเวณเชิงเขาหิมาลัย ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Pleurotus sajor-caju (Fr.) Singer
             เห็ดนางฟ้าถูกนำไปเลี้ยงในอาหารวุ้นเป็นครั้งแรกโดย Jandaik ในปี ค.ศ. 1947 ต่อมา Rangaswami และ Nadu แห่ง Agricultural University, Coimbattore ในอินเดียเป็นผู้นำเชื้อบริสุทธิ์ของเห็ดนางฟ้าเข้ามาฝากไว้ที่ American Type Culture Collection (ATCC) ในอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1975 ได้ทราบว่าประมาณปี ค.ศ. 1977 ทางกองวิจัยโรคพืช กรมวิชาการเกษตร เป็นผู้นำเชื้อจาก ATCC เข้ามาประเทศไทยเพื่อทดลองเพาะดู ปรากฏว่าสามารถเจริญได้ดี 
        
          อีกสายพันธุ์หนึ่ง เป็นเห็ดที่มีผู้นำเข้ามาจากประเทศภูฐาน มาเผยแพร่แก่นักเพาะเห็ดไทย ได้มีการเรียกชื่อเห็ดนี้ว่า เห็ดนางฟ้าภูฐาน มีหลายสายพันธุ์ซึ่งชอบอุณหภูมิที่แตกต่างกัน บางพันธุ์ออกได้ดีในฤดูร้อน บ้างพันธุ์ออกได้ดีในฤดูหนาว เป็นที่นิยมมาเพาะเป็นการค้ากันมาก 
          ลักษณะของดอกเห็ดนางฟ้า มีลักษณะคล้ายกับดอกเห็ดเป๋าฮื้อ และดอกเห็ดนางรม เมื่อเปรียบเทียบกับเห็ดเป๋าฮื้อ ดอกเห็ดนางฟ้าสีจะอ่อนกว่า และมีครีบอยู่ชิดกันมากกว่า เห็ดนางฟ้าสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นนานได้หลายวัน เช่นเดียวกับเห็ดเป๋าฮื้อ เนื่องจากเห็ดชนิดนี้ไม่มีการย่อตัวเหมือนกับเห็ดนางรม ด้านบนของดอกจะมีสีนวลๆ ถึงสีน้ำตาลอ่อน ในอินเดียดอกเห็ดมีขนาดตั้งแต่ 5 14 เซนติเมตร และจะมีน้ำหนักอยู่ระหว่าง 30 120 กรัม เห็ดนางฟ้ามีรสอร่อย เวลานำไปปรุงอาหารจะมีกลิ่นชวนรับประทาน เห็ดชนิดนี้สามารถนำไปตากแห้ง เก็บไว้เป็นอาหารได้ เมื่อจะนำเห็ดมาปรุงอาหาร ก็นำไปแช่น้ำเห็ดจะคืนรูปเดิมได้

เห็ดนางฟ้า(ภูฐาน)

วัสดุอุปกรณ์ในการเพาะเห็ดนางฟ้า
1.       วัสดุเพาะ เช่น ขี้เลื่อยไม้ยางพารา อาหารเสริม
2.       แม่เชื้อเห็ดชนิดที่ต้องการ
3.       ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 6 3/4 x 12 1/2 หรือ 8×12 นิ้ว
4.       คอขวดพลาสติกเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 1/2 นิ้ว
5.       สำลี ยางรัด
6.       ถึงนึ่งไม่อัดความดัน หรือหม้อนึ่งความดัน
7.       โรงเรือนหรือที่บ่มเส้นใย
การเตรียมวัสดุเพาะเพาะจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา
               ส่วนมากจะใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา หรือขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ หรือใช้ฟางข้าวก็ได้  ตามฟาร์มเห็ดทั่วไปแล้วเพื่อความสะดวกในการหมักและผสมวัสดุจึงนิยมใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา  ซึ่งเป็นขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนและมีสารอาหารที่มีคุณค่าในการเพาะเห็ดมาก
อัตราส่วนในการผสมวัสดุอื่นๆ                               

1.       ขี้เลื่อย          100    กิโลกรัม
2.       รำละเอียด      6       กิโลกรัม
3.       ปูนขาว          1       กิโลกรัม
4.       ดีเกลือ           0.2    กิโลกรัม
5.       ยิปซัม           0.2    กิโลกรัม
6.       น้ำสะอาด       60-70 %
สูตรที่  2
1.        
1.       บรรจุขี้เลื่อยใส่ถุงพลาสติกทนร้อน  น้ำหนัก 8-10 ขีด กระแทกกับพื้นพอประมาณ และทุบให้แน่นพอประมาณ 2 ใน 3 ของถุง ใส่คอขวด รัดด้วยหนังยางจุกสำลี
2.       นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่ 100 องศาเซลเซียส  3 ชั่วโมง  แล้วนำมาพักให้เย็นในที่สะอาด
3.       หัวเชื้อควรเลือกหัวเชื้อที่เจริญเต็มเมล็ดธัญพืชใหม่ๆเพราะเชื้อในระยะนี้กำลังแข็งแรงและเจริญเติบโตรวดเร็ว
4.       สถานที่เขี่ยเชื้อเห็ด  ควรเขี่ยในห้องที่สะอาดและสามารถป้องกันลมได้เพื่อช่วยลดเชื้อปลอมปน ทำให้เปอร์เซ็นต์ของก้อนเชื้อที่เสียต่ำลง
5.       ในการเขี่ยเชื้อเห็ด ควรใช้ลวดแข็งๆ เผาไฟให้ร้อน ในถึงก้อนเชื้อประมาณ 15-20 เมล็ดแล้วปิดด้วยจุกสำลี เพื่อฆ่าเชื้อ  แล้วกวนตีเมล็ดข้าวฟ่างให้ร่วน เพื่อสะดวกในการเทเมล็ดข้าวฟ่างลงในถึงก้อนเชื้อ
6.       การใส่หัวเชื้อเห็ดที่เลี้ยงบนเมล็ดข้าวฟ่างลงและหุ้มกระดาษไว้ตามเดิม
7.       นำก้อนที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วไปพักในห้องบ่มที่สะอาด ควรฉีดยาฆ่าแมลงไว้ที่พื้น
8.       บ่มก้อนเชื้อไว้ประมาณ 25-35 วัน แล้วย้ายโรงเปิดดอก
o    ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแห้ง   100   กิโลกรัม
o    รำละเอียด                   5      กิโลกรัม
o    ยิปซัม                        0.2   กิโลกรัม
o    ปูนขาว                       1      กิโลกรัม
o    ดีเกลือ                        0.2   กิโลกรัม
o    ปรับความชื้นของวัสดุเพาะประมาณ  60-65 %
วัสดุทั้งหมดนี้สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสมได้เมื่อชั่งหรือตวงวัสดุทั้งหมดแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน และหมั่นตรวจดูความชื้นบ่อยๆ เพื่อไม่ให้วัสดุเปียกแฉะจนเกินไป  ซึ่งจะทำให้มีผลในการทำให้เชื้อเห็ดไม่เดิน                                                        
วิธีการเตรียมวัสดุเพาะ
              นำส่วนผสมดังกล่าวข้างต้น  ผสมให้เข้ากันด้วยมือหรือเครื่องผสมแล้วปรับความชื้น 60-65 % โดยเติมน้ำพอประมาณ ใช้มือกำขี้เลื่อยบีบให้แน่น ถ้ามีน้ำซึมที่ง่ามมือแสดงว่าเปียกเกินไป (ให้เติมขี้เลื่อยแห้งเพิ่ม) ถ้าไม่มีน้ำซึมให้แบมือออก ขี้เลื่อยจะรวมกันเป็นก้อนแล้วแตกออก 2-3 ส่วน ถือว่าใช้ได้แต่ถ้าแบมือแล้วขี้เลื่อยไม่รวมตัวเป็นก้อน แสดงว่าแห้งไป ให้เติมน้ำเล็กน้อย
                                                        
ลักษณะเชื้อเห็ดที่ดี
              จะต้องไม่มีเชื้อราอื่นๆ เจือปน เช่น ราดำ ราเขียว ราส้ม ปนเปื้อน อยู่ในขวดเชื้อนั้น เพราะจะทำให้ถุงเพาะเชื้อเห็ดติดโรคราอื่นได้  โดยสังเกตเส้นใยของเชื้อเห็ดจะต้องมีเส้นใย สีขาวบริสุทธิ์และดินเต็มขวด